บทความ

3 สิ่งสำคัญ สำหรับงานเดินท่อสารทำความเย็น

การเดินท่อสารทำความเย็น เป็นสิ่งที่ช่างติดตั้งทุกคนต้องคำนึงถึงในการติดตั้ง เพราะถ้าอากาศมีความชื้นหรือฝุ่นละอองหลุดรอดเข้าไปในระบบทำความเย็นอาจทำให้เกิดปัญหา ดังนั้นควรระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้สิ่งต่าง ๆ ตกค้างอยู่ในระบบท่อขณะทำการเดินท่อ นอกจากนี้การรั่วซึมมักเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในระบบทำความเย็น เราจึงสรุป 3 สิ่งสำคัญ สำหรับงานเดินท่อสารทำความเย็นได้ ดังนี้ ความแห้ง พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้น้ำหรืออากาศเข้าไปในระบบท่อสารทำความเย็น ไม่เดินท่อในวันที่ฝนตก ใช้ฝาจุกปิดท่อทองแดง ไล่อากาศออกให้หมดโดยใช้แวคคั่มปั๊ม(ปั๊มสุญญากาศ) ความสะอาด ไม่ให้ฝุ่นผงเข้าไปในระบบท่อ ใช้รีมเมอร์ลบคมหรือเสี้ยนออกจากท่อทองแดงให้หมดแล้วหันรูของท่อลงด้านล่าง ปิดท่อทองแดงด้วยฝาจุกเสมอขณะเก็บรักษาหรือขณะสอดผ่านผนังเพื่อไม่ให้ฝุ่นลงหรือสิ่งสกปรกเข้าไปในท่อ ความแน่น ไม่มีการรั่วซึมของสารทำความเย็น บานปลายท่อให้ประณีตเรียบร้อย ขันข้อต่อท่อให้แน่นด้วยประแจทอร์ค ใช้ปะเก็น(Gasket) ป้องกันการรั่วซึมให้ถูกต้อง ปิดฝาจุกท่อให้แน่น ตรวจสอบการรั่วซึมของสารทำความเย็นในระบบท่อให้เรียบร้อยด้วยเครื่องตรวจรั่วสารทำความเย็น หากสนใจท่อทองแดง หรือ เครื่องมือช่างแอร์ สามารถ ติดต่อเราได้ที่นี้ หรือ โทรหาเราได้ที่ 02-446-5656 ต่อ 3207

อุปกรณ์สำคัญในระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ

ถ้าจะพูดถึงระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด คงจะหนีไม่พ้น เครื่องปรับอากาศตามบ้านเรือน

20 เครื่องมือช่างแอร์ (มือใหม่) อะไรบ้างที่ต้องมีในปี 2021

เครื่องมือช่างแอร์ เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับช่างแอร์ในการติดตั้ง ตรวจเช็กและซ่อมบำรุงในงานระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น

ตู้ MDB คืออะไร

ตู้ MDB (Main Distribution Board) คืออะไร ตู้ MDB (Main Distribution Board) หรือ ตู้สวิทช์บอร์ด (Switchboards) คือ ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก นิยมใช้ในอาคารที่มีขนาดกลาง และอาคารขนาดใหญ่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟในปริมาณมาก โดยภายในตู้สวิทช์บอร์ด MDB จะประกอบไปด้วยแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแผงแรกที่รับไฟฟ้าเข้ามาจากหม้อแปลงจำหน่ายไฟฟ้า จากนั้นจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังแผงย่อยส่วนต่าง ๆ ภายในอาคารนั้น ๆ หน้าที่ของตู้ MDB ตู้สวิทช์บอร์ด MDB จะมีหน้าที่ควบคุมการจ่ายและรับไฟฟ้า จากระบบการไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือหม้อแปลงไฟฟ้าที่เข้ามาภายในอาคาร รวมถึงป้องกันความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร แรงดันไฟฟ้าเกิน แรงดันไฟฟ้าตก กระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน อุปกรณ์ ภายในตู้ MDB ประกอบด้วย 1. โครงตู้สวิทช์บอร์ด (Enclosure) เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งทำหน้าที่ยึดตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ภายในตู้ ป้องกันสิ่งต่าง ๆ […]

5 วิธี ช่วยประหยัดการใช้พลังงานสำหรับ ห้องเย็น

ประเทศไทยอากาศค่อนข้างร้อน อากาศแปรปรวน มีทั้งฝนทั้งหนาว ทำให้อุณหภูมิปรับเปลี่ยน อาจส่งผลให้ห้องเย็นของเราทำงานหนักขึ้นได้ และทำให้เสียพลังงานมากขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น โดยพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็นจะเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินเครื่องทำความเย็น ซึ่งใช้ในกระบวนการแช่แข็งและกระบวนการเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมดูแลการใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ วันนี้เรามี 5 วิธี ที่ทำง่าย ๆ มานำเสนอเพื่อช่วยประหยัดพลังงานห้องเย็นกันครับ 5 วิธีประหยัดพลังงานในห้องเย็น เลือกเครื่องทำความเย็นให้เหมาะสมกับขนาดห้องและรอบการใช้งาน เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม ช่วยลดการสูญเสียพลังงาน จัดสรรพื้นที่การใช้งานและองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในห้องเย็นให้เหมาะสม ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิของสินค้าให้เหมาะสม ก่อนการแช่เยือกแข็ง ลดช่องเปิดต่าง ๆที่เป็นเหตุของการสูญเสียพลังงานให้เหลือน้อยที่สุด และควรติดตั้งม่านพลาสติกกันความเย็น ไม่ตั้งอุณหภูมิห้องเย็นต่ำจนเกินไป การลดอุณหภูมิในห้องเย็นลง 1 องศาเซลเซียสจะใช้พลังงานโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1% จัดการหมุนเวียนของอากาศในห้องเย็นให้หมุนเวียนได้ดี เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่สม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง หลีกเลี่ยงการนำแหล่งความร้อน เช่น หม้อน้ำร้อนที่ไม่มีฝาปิดและไม่ได้หุ้มฉนวน เข้ามาในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือการเข้า-ออกห้องเย็นโดยไม่จำเป็น ตรวจสอบสภาพห้องเย็น อุปกรณ์และระบบทำความเย็นอยู่เสมอ หมั่นตรวจสอบสภาพประตูและแผ่นฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องเย็น และระบบทำความเย็นให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานห้องเย็นแก่พนักงานที่รับผิดชอบ กำชับพนักงานให้ปิดประตูห้องแช่เยือกแข็งและห้องเย็นให้สนิททุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน อบรมพนักงานฝ่ายผลิตให้เข้าใจพื้นฐานของระบบทำความเย็น อบรมช่างฝ่ายระบบทำความเย็นให้เข้าใจพื้นฐานของขั้นตอนการผลิต เลือกใช้อุปกรณ์ในระบบทำความเย็นที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพและช่วยประหยัดพลังงาน เลือกทาสีสว่างให้กับผนังห้อง จะช่วยลดการติดตั้งโคมไฟได้ ติดตั้งดวงไฟให้ตรงกับจุดที่ทำงานและเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น […]

มาตรฐาน ท่อทองแดง ที่ใช้ในงานปรับอากาศและระบบทำความเย็น

ท่อทองแดง ในปัจจุบันที่เรานำมาใช้ในงานปรับอากาศหรือในระบบทำความเย็นที่มีคุณภาพ จะมีการกำหนดมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานท่อทองแดงนั่นถูกกำหนดจากหน่วยงาน ASTM

ทำไมต้องเลือกใช้คอมเพรสเซอร์สโครล ?

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) หรือ “เครื่องอัดไอ” คอมเพรสเซอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบเครื่องปรับอากาศหรือระบบทำความเย็น โดยทั่วไปคอมเพรสเซอร์จะมีโครงสร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ใหญ่ๆ คือ ส่วนของมอเตอร์ และส่วนของห้องอัด วันนี้ทางเราจะมาแนะนำกันว่า ทำไมเราจึงต้องเลือกใช้คอมเพรสเซอร์สโครลกันครับ คอมเพรสเซอร์สโครลแตกต่างจาก คอมเพรสเซอร์แบบอื่นอย่างไร สิ่งที่ทำให้คอมเพรสเซอร์แบบสโครลแตกต่างจากคอมเพรสเซอร์ประเภทอื่น ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพ และความทนทาน คือ ห้องอัดของคอมเพรสเซอร์แบบสโครล ซึ่งจะมีลักษณะเป็นก้นหอย 2 ชิ้นประกอบกัน 1. สโครลตัวบนที่อยู่กับที่ (Fixed Scroll) 2. สโครลตัวล่างที่เคลื่อนที่ (Orbiting Scroll) คอมเพรสเซอร์สโครล ทำงานอย่างไร โดยการทำงานจะประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ สโครลตัวบนที่อยู่กับที่ (Fixed Scroll ) กับ สโครลตัวล่างที่เคลื่อนที่ (Orbiting Scroll) โดยสโครลตัวล่างที่เคลื่อนที่ (Orbiting Scroll) จะเชื่อมต่ออยู่กับเพลาและมีการหมุนในลักษณะเหวี่ยงไปรอบๆ เพลาไม่ใช่หมุนรอบตัวเอง สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ที่มีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ จะถูกดูดเข้ามาจากด้านนอกสุด แล้วค่อยๆ ถูกอัดโดยการเบียดตัวของสโครล […]

มาตรฐานตู้ไฟฟ้า IEC 61439

คือ มาตรฐานในการออกแบบตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงดันตํ่า (Low Voltage Switchgear and Controlgear Assemblies) หรือที่เรียกว่า ตู้ไฟฟ้า โดยตู้ไฟฟ้าแรงดันต่ำ ใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส หรือ 1 เฟส ที่ความถี่ 1000 เฮิรตซ์ สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ (A.C.) โดยขนาดแรงดันไฟฟ้าต้องไม่เกิน 1000 โวลต์ สำหรับ ไฟฟ้ากระแสตรง (D.C.) โดยขนาดแรงดันไฟฟ้าต้องไม่เกิน 1500 โวลต์ ใช้เกี่ยวกับงานผลิตไฟฟ้า จ่ายไฟฟ้า การแปลงผันพลังงานไฟฟ้า การควบคุมบริภัณฑ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า บริษัท แสงชัยอีควิพเม้นท์ จำกัด ผลิตสินค้าภายใต้มาตรฐาน IEC 61439-1,-2,-3 ใช้อุปกรณ์ส่วนควบคุมที่ได้รับมาตรฐานสากล และใช้บัสบาร์มาตรฐาน DIN และ IEC มีเครื่องจักรที่ทันสมัย มาตรฐานสูงเพื่อรองรับความต้องการของตลาดตู้สวิชบอร์ดในอนาคต โดยมีมาตรฐานดังต่อไปนี้… IEC 61439-1: General rules เป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการออกแบบและตรวจสอบการออกแบบ ประกอบไปด้วยข้อกําหนดและเงื่อนไขในการบริการ […]

ชุดควบคุมอุณหภูมิ CAREL ir33+

ชุดควบคุมอุณหูมิ (Temperature Controller) คืออะไร ชุดที่ควบคุมอุณหภูมิเครื่องทำความเย็น เช่นห้องเย็น ตู้แช่ ตู้เย็น ตู้เก็บสินค้า ทำหน้าที่ประมวลผลสัญญาณ โดยรับค่ามาจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ และสั่งการไปยังคอมเพรสเซอร์ เพื่อเพิ่มหรือลดอุณหถูมิตามที่ผู้ใช้งานต้องการ นิยมนำมาใช้งานมากในกลุ่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงงานอุตสาหกรรม ร้านค้า ชุดควบคุมอุณหภูมิ CAREL ir33+ คือ ชุดควบคุมเครื่องทำความเย็น ใช้งานง่ายเพียงตั้งค่าตามที่เราต้องการ หรือค่ามาตรฐานจากโรงงานที่ครอบคลุมสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ระบบที่มีขนาดเล็ก ถึงระบบที่มีขนาดใหญ่ ห้องเย็น, ตู้แช่, ตู้เก็บสินค้า จุดเด่น – หน้าจอแสดงอุณหภูมิขนาดใหญ่ 3 หลัก พร้อมทั้งจุดทศนิยม – ปุ่มกดเป็นระบบสัมผัสรวมอยู่บนแผงหน้าปัดแบบเรียบ มีระดับกันป้องกันฝุ่นและน้ำ (IP65) ทำให้สามารถเช็ดทำความสะอาดง่าย– สามารถควบคุมได้สูงสุดที่ 5 Relay Outputs (Compressor, Fan, Defrost, AUX1, AUX2)– รองรับการต่อระบบ Monitoring ทั้งของ Carel และ Modbus RS485 […]

Honeywell WEB-8000 Controller ตัวควบคุมภายในอาคารอัจฉริยะ

วันนี้ผมจะมาแนะนำอุปกรณ์ Honeywell WEB-8000 ที่ใช้ดูแลและควบคุมระบบภายในอาคาร ที่มีขนาดกระทัดรัด ทำให้ระบบจัดการและควบคุมภายในอาคารอัตโนมัติ (BAS) สมบูรณ์แบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ภายในอาคารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระบบจัดการและควบคุมภายในอาคารอัตโนมัติ (BAS) คืออะไร? คือระบบจัดการและควบคุมภายในอาคารอัตโนมัติ ทั้งในด้านระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง ระบบควบคุมอัคคีภัย และระบบความปลอดภัยฯ โดยทำการควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบ Network ไปยังชุดอุปกรณ์ย่อยของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างอิสระหรือสามารถทำงานร่วมกันได้ Honeywell WEB-8000 Controller คือ…. WEB-8000 Controller เป็น IoT (Internet of Things) ที่มีขนาดกระทัดรัด สำหรับเชื่อมต่อกับคอนโทรลเลอร์ และเซิร์ฟเวอร์แพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีการสื่อสารแบบเปิด (Open Protocol) ได้หลายๆ อุปกรณ์ และระบบย่อยที่หลากหลาย ด้วยระบบเน็ตเวิร์ค หรืออินเทอร์เน็ต หลักการทำงาน Honeywell WEB-8000 Controller การเชื่อมต่อและความสามารถในการดูแลและควบคุมระบบ WEB-8000 สามารถควบคุมแบบบูรณาการโดยการกำกับ และดูแลข้อมูล การบันทึกการทำงาน การเตือนกำหนดการ และเครือข่าย […]

น้ำมันคอมเพรสเซอร์ 5 ประเภทที่ช่างเทคนิคควรรู้

น้ำมันคอมเพรสเซอร์ ในงานระบบปรับอากาศหรือระบบทำความเย็น ทำหน้าที่ หล่อลื่นชิ้นส่วนในคอมเพรสเซอร์ เพิ่มกำลังอัด และระบายความร้อนให้กับคอมเพรสเซอร์ ทำให้น้ำมันคอมเพรสเซอร์มีส่วนประกอบสำคัญในการทำงานของคอมเพรสเซอร์

5 เหตุผล ที่ต้องใช้กล้องถ่ายภาพความร้อน กับงาน HVAC/R

ถ้าคุณทำงานในด้านระบบปรับอากาศหรือระบบทำความเย็น และจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ง่ายต่อการค้นพบปัญหา ให้ภาพที่ชัดเจน ที่จะสามารถอธิบายปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างชัดเจนว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น และคุณสามารถแก้ไขมันได้นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมคุณต้องใช้ กล้องถ่ายภาพความร้อน วันนี้เราเลยนำตัวอย่างเหตุการณ์จริง ที่กล้องถ่ายภาพความร้อน มาช่วยตรวจสอบปัญหาหน้างานได้ครับ 1. กล้องถ่ายภาพความร้อน FLIR สามารถตรวจสอบได้ว่าในระบบคอยล์ร้อนที่ติดตั้งมีปัญหา สารทำความเย็นมีค่าต่ำผิดปรกติ หรือแม้แต่เกิดการรั่วไหล 2. กล้องถ่ายภาพความร้อน FLIR สามารถตรวจสอบปัญหาของท่อได้ว่ามีการรั่วหรือมีการเสื่อมของฉนวนของท่อ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบ HVAC/R สูญเสียประสิทธิภาพ และเพิ่มค่าใช้จ่ายมากยึ่งขึ้น 3. ปัญหาทางด้านไฟฟ้า ถ้าใช้วิธีตรวจสอบด้วยวิธีการทั่วไปอาจจะใช้เวลานานมากแต่กล้องถ่ายภาพความร้อนจะสามารถทำให้คุณเห็นแผงวงจรที่เกิดการฟิวส์ขาดและมีการต่อวงจรไฟฟ้าที่ไม่ดี 4. กล้องถ่ายภาพความร้อน สามารถแสดงลักษณะการแผ่ความร้อนทำให้แสดงตำแหน่งที่เกิดปัญหาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้คุณประหยัดเวลาให้การซ่อมแซม 5. กล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถตรวจจับอุณหภูมิในคอยล์ได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้สามารถตรวจสอบระบบได้ว่าระบบทำงานถูกต้องตามที่กำหนดหรือไม่ กล้องถ่ายภาพความร้อน ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อีกมากมาย หากสนใจรายละเอียด กล้องถ่ายภาพความร้อน FLIR สามารถติดต่อเราได้ที่นี้

1 4 5 6 7