ความต่างของ เบรกเกอร์ทั่วไป กับ เบรกเกอร์กันดูด

การเลือกใช้เบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเบรกเกอร์แต่ละชนิดจะมีการใช้งานที่เหมาะสมของแต่ละประเภทอยู่ ในวันนี้เราจะมาพูดถึงความแตกต่างระหว่าง เบรกเกอร์ธรรมดาที่ใช้ในงานทั่วไป กับ เบรกเกอร์กันดูด มีความแตกต่างกันอย่างไร 

เบรกเกอร์ธรรมดาที่ใช้งานทั่วไป 

เบรกเกอร์แบบธรรมดาที่ใช้งานทั่วไป หรือที่เรียกว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุม และป้องกันระบบไฟฟ้า ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หรือ ไฟฟ้าลัดวงจร โดยสามารถแบ่งแยกตามประเภทได้ ดังนี้ 

1. เบรกเกอร์ MCB (Miniature Circuit Breaker)

MCB เบรกเกอร์ลูกย่อย รุ่น NXM-63 2P

เบรกเกอร์ MCB คือ เบรกเกอร์ขนาดเล็ก หรือ เบรกเกอร์ไฟบ้าน นิยมใช้ในบ้านเรือนทั่วไป มีขนาดกระแสไฟฟ้าที่หลากหลาย เหมาะสำหรับควบคุมวงจรไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น วงจรไฟฟ้าในห้องนอน ห้องน้ำ และห้องครัว ในบ้านพักอาศัย 

2. เบรกเกอร์ MCCB (Molded Case Circuit Breaker) 

MCCB เบรกเกอร์ รุ่น NM8N-125S 1P

เบรกเกอร์ mccb คือ เบรกเกอร์ขนาดกลาง นิยมใช้ในอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม มีขนาดกระแสไฟฟ้าที่มากกว่า MCB เหมาะสำหรับควบคุมวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น วงจรไฟฟ้าหลักของอาคาร หรือ วงจรไฟฟ้าเครื่องจักร

3. เบรกเกอร์ ACB (Air Circuit Breaker)

เซอร์กิตเบรกเกอร์ ACB CHIT รุ่น NXA20S20

เบรกเกอร์ ACB คือ เบรกเกอร์ขนาดใหญ่ นิยมใช้สำหรับป้องกัน สายประธาน (Main Feeder) และสายป้อน (Feeder) ของระบบไฟฟ้า เหมาะสำหรับงานระบบไฟฟ้าที่ต้องการความปลอดภัยและความต่อเนื่องในการทำงาน เช่น งานแรงดันสูง (HVAC) ในโรงงาน อาคารขนาดใหญ่ ระบบส่งจ่ายไฟ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับติดตั้งใน ตู้ MDB หรือตู้สวิทช์บอร์ด

เบรกเกอร์กันดูด RCBO 

เบรกเกอร์ RCBO กันดูด รุ่น NXBLE-63 1P

เบรกเกอร์กันดูด หรือ RCBO (ย่อมาจาก Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด โดยทำหน้าที่ตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลลงดิน และตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วตามค่าที่กำหนด ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟดูดที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้งาน 

เทียบความแตกต่างของ เบรกเกอร์ธรรมดา กับ เบรกเกอร์กันดูด RCBO

ประเภทของเบรกเกอร์ หน้าที่ การทำงาน ลักษณะขั้วสาย การเลือกใช้งาน
เบรกเกอร์ทั่วไป

1. ตัดวงจรเมื่อกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด (Overload) ป้องกันไฟไหม้จากสายไฟร้อนเกิน

2. ตัดวงจรเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย

กระแสไฟฟ้าเกินที่กำหนด เบรกเกอร์จะตัดวงจร มี 1P,2P,3P,4P,1P+N, 3P+N  สำหรับต่อสายไฟ เข้า และออก  นิยมใช้ทั่วไปในบ้าน อาคาร
เบรกเกอร์กันดูด 1. ตัดวงจรเมื่อกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด (Overload) ป้องกันไฟไหม้จากสายไฟร้อนเกิน

2. ตัดวงจรเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย

3. มีตัวตัดวงจรเมื่อเกินไฟรั่ว (Residual Current) ป้องกันอันตรายจากไฟดูด

วัดกระแสไฟเข้าและออกว่าเท่ากันหรือไม่ หากไม่เท่ากัน ตามที่กำหนดไว้ในเสปคของอุปกรณ์ เบรกเกอร์กันดูด ก็จะทำการตัดวงจร มี 1P+N, 2P,3P, 3P+N, 4P  สำหรับต่อสายไฟ L, N, PE และสายดิน นิยมใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อไฟรั่ว เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว พื้นที่เปียก

สรุป

การเลือกเบรกเกอร์ให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าจากความเสียหาย ผู้ใช้ควรเลือกเบรกเกอร์แต่ละชนิดให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์ RCBO ก็เป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมเช่นกัน  

 

สนใจอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำ CHINT ติดต่อ  090-008-1261, 088-874-3411, 062-676-2310 , 066-125-5145, 02-446-5656 ต่อ 3103,3104

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ FB : CHINT by Sangchai Group

สนใจขอใบเสนอราคา