20 เครื่องมือช่างแอร์ (มือใหม่) อะไรบ้างที่ต้องมีในปี 2021

เครื่องมือช่างแอร์ เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับช่างแอร์ในการติดตั้ง ตรวจเช็กและซ่อมบำรุงในงานระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น เครื่องมือช่างแอร์มีหลากหลายชนิด และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพื่อช่วยให้ช่างแอร์ (มือใหม่) ทราบว่าอุปกรณ์เครื่องมือช่างแอร์ที่จำเป็นในงานมีอะไรบ้าง และใช้งานในส่วนใดกันบ้าง? ต้องตามไปดูกัน

1. เกจวัดน้ำยา(Manifold Gauge)  

เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับวัดค่าความดันภายในระบบเครื่องปรับอากาศเพื่อการตรวจซ่อมและใช้ในการเติมน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น และในกระบวนการทำสุญญากาศ จำเป็นต้องใช้เกจวัดความดันที่คงเหลืออยู่ในระบบด้วย การเลือกใช้ต้องเลือกใช้งานให้ตรงกับน้ำยา ระหว่าง R22, R134a, R404a ที่มีความดันต่ำ กับ R410a, R-32 ที่มีความดันสูงกว่ากลุ่มข้างต้นประมาณ 1.6 เท่า จึงไม่สามารถใช้เกจวัดตัวเดียวกันได้ เนื่องจากความแตกต่างของความดันน้ำยาแอร์ที่ไม่เท่ากัน

เกจวัดน้ำยา(Manifold Gauge)

2. แวคคั่มปั๊ม (Vacuum pump)

หรือปั๊มสุญญากาศ ทำหน้าที่ดูดอากาศออกจากระบบ เพื่อทำให้ความดันต่ำลงจนเป็นสุญญากาศ ความชื้นและน้ำจะระเหยออกจากระบบ หรือเรียกว่าการทำแวคคั่ม เพื่อให้น้ำยาแอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพไม่มีอากาศหรือความชื้นเจือปน ซึ่งอาจใช้เวลาในการทำนาน แต่จำเป็นต้องทำ เพื่ออายุการใช้งานของแอร์ที่ยาวนาน โดยเครื่องแวคคั่มปั๊มที่มีระดับการทำสุญญากาศที่ดีจะสามารถทำค่าไมครอนได้ต่ำ ซึ่งจะทำให้การทำแวคคั่มรวดเร็ว และความชื้นในระบบระเหยออกได้ดียิ่งขึ้น

แวคคั่มปั๊ม (Vacuum pump)

3. คัตเตอร์ตัดท่อ (Tube Cutter)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดท่อทองแดงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน การจะเดินท่อน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นได้ จะต้องได้ใช้งานคัดเตอร์ตัดท่อแน่นอน ในการใช้งานจริง ต้องใช้คัดเตอร์เฉพาะสำหรับตัดท่อ หรือมินิคัตเตอร์ ในการตัดท่อทองแดงให้ได้ความยาวท่อตามต้องการ มีให้เลือกใช้หลายขนาดด้วยกัน ตั้งแต่ 1/8”, 7/8”, 1/8”, 5/8”, 1/8”, 7/8”, 1/8”, 1-1/4”

คัตเตอร์ตัดท่อ (Tube Cutter)

4. รีมเมอร์ (reamer)

หรือเครื่องลบคมท่อ ใช้สำหรับลบคมหรือเสี้ยนออกจากท่อทองแดง หรือบริเวณปากท่อทองแดงที่เกิดจากงานตัดของคัตเตอร์ตัดท่อฯ หากไม่ลบคมท่อก่อนทำการบานแฟร์ อาจะทำให้งานที่บานไม่ได้รูปทรง เสี้ยนโลหะจะทำให้แฟร์เป็นรอย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำยาหรือสารทำความเย็นรั่วได้

รีมเมอร์ (reamer)

5. เครื่องบานแฟร์ท่อ (Flaring Tool)

เป็นเครื่องมือสำหรับบานท่อทองแดงเพื่อใช้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างท่อทองแดงและแฟร์นัทเข้ากับช่องเซอร์วิส สำหรับแฟร์ที่ได้นั้นหากเล็กเกินไป หรือ แฟร์มีรอย ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นในระบบรั่วได้

เครื่องบานแฟร์ท่อ (Flaring Tool)

6. ประแจทอร์ค หรือ ประแจปอนด์ (Torque Wrench)

เป็นประแจที่สามารถกำหนดค่าแรงบิดการขันแฟร์นัทได้ ใช้สำหรับระบบปรับอากาศ หากใช้ประแจทั่วไปขันจะต้องกำหนดแรงบิดด้วยตัวเองตามความชำนาญของช่างแต่ละคน ถ้าขันไม่แน่น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นในระบบรั่วได้ หรือแน่นไปจนทำให้แฟร์นัทแตก

ประแจทอร์ค หรือ ประแจปอนด์ (Torque Wrench)

7. เครื่องดัดท่อ หรือ เบนเดอร์ดัดท่อ (Tube bender)

เป็นเครื่องมือสำหรับดัดท่อทองแดง ซึ่งสามารถดัดมุมได้ 90 – 180 องศา การดัดท่อที่ดี ท่อที่ถือว่าใช้ได้หลังจากทำการดัดแล้ว ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อจะต้องไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของขนาดที่ใช้ หากใช้ท่อบางหรือท่อที่มีความหนาต่ำกว่าคำแนะนำของผู้ผลิต แล้วนำมาดัดจะทำให้เกิดปัญหาท่อบีบหรือท่อย่นได้ จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ

เครื่องดัดท่อ หรือ เบนเดอร์ดัดท่อ (Tube bender)

8. เซฟตี้วาล์ว (Safety Valve)

คือวาล์วที่ทำหน้าที่กดไส้ศรของเซอร์วิสวาล์ว เพื่อไม่ให้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น ถูกปล่อยออกมามากเกินความจำเป็นในระหว่างต่อเกจวัดความดัน ซึ่งเป็นอีกเหตุผลที่ช่างควรจะมีใช้ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สารทำความเย็นลวกมือได้

เซฟตี้วาล์ว หรือ ชาร์จจิ้ง วาล์ว (Safety Valve)

9. ชุดเบ่งขยายท่อทองแดง (Tube Expander)

เป็นเครื่องมือสำหรับการขยายท่อทองแดง และอลูมิเนียมชนิดอ่อน เพื่อการต่อท่อโดยไม่ต้องใช้ Fitting ประกอบด้วย ตัวเบ่งขยายท่อทองแดง ขนาด 1/4″, 5/16″, 3/8″, 1/2″, 5/8, 3/4″, 7/8″, 1″, 1-1/8″

ชุดเบ่งขยายท่อทองแดง (Tube Expander)

10. สว่าน (Drill)

มีหน้าที่ในการเจาะกำแพง เพื่อติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทั้งติดผนัง เพดาน รวมไปถึงตั้งพื้น สว่านที่ดีจะต้องมีความทนทาน ทนแรงกระแทก และรองรับความร้อนสูงในการใช้งานติดต่อกันได้

สว่าน (Drill)

11. หัวเจาะกลม (Hole saw)

มีไว้เพื่อเจาะรูท่อที่ผนังให้เป็นวงกลม ได้ขนาดพอดีกับท่อ ลดรอยแตกร้าวขณะเจาะ เหมาะสำหรับใช้เจาะรูร้อยท่อแอร์ รูท่อสารทำความเย็นในการติดตั้ง

หัวเจาะกลม (Hole saw)

12. เครื่องชั่งน้ำยาแอร์ (Refrigerant Scale)

เครื่องชั่งน้ำยาแอร์ แสดงผลแบบดิจิตอล สำหรับไว้ใช้ชั่งถังน้ำยาแอร์ ในระหว่างการเติมน้ำยา ควรมีความแม่นยำสูง เพื่อกันไม่ให้เติมน้ำยามาก หรือน้อยเกินไป

เครื่องชั่งน้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น (Refrigerant Scale)

13. เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer)

คือเครื่องมือวัด และแสดงค่าอุณหภูมิ มีหลากหลายรูปแบบตามประเภทของงาน โดยสำหรับงานติดตั้งและซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและระบบทำความเย็น สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ “อุณหภูมิ” จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเครื่องวัดอุณหภูมินั้นสำคัญ โดยเครื่องวัดอุณหภูมิที่เหมาะสมกับระบบปรับอากาศควรเป็นแบบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแบบสัมผัส เพราะค่าที่วัดได้รับจะแม่นยำกว่าเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

13.เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer)

14. ดิจิตอลไมครอนเกจหรือ เกจวัดสุญญากาศ (Digital Micron Gauge)

เครื่องแวคคั่มเกจ หรือ บางคนจะเรียกว่า เครื่องมือวัดสุญญากาศแบบดิจิตอล คือ อุปกรณ์เครื่องมือวัดที่สามารถแสดงถึงระดับสุญญกาศแบบสมบูรณ์ โดยแสดงเป็นหน่วยไมครอน จะมีความละเอียดด้านสุญญากาศมากกว่าเกจน้ำยาทั่วไป เพื่อให้ทราบว่าในระบบเครื่องปรับอากาศหรือระบบทำความเย็น ไม่มีอากาศและความชื้นหลงเหลืออยู่ จะใช้ควบคู่กับเกจวัดน้ำยา และแวคคั่มปั๊ม

ดิจิตอลไมครอนเกจหรือ เกจวัดสุญญากาศ (Digital Micron Gauge)

15. เครื่องฉีดน้ำ หรือ ปั๊มน้ำแรงดันต่ำ

คืออุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศประเภท Wall Type เนื่องจากแรงดันน้ำที่พอเหมาะของปั๊มจะไม่ทำให้ฟินคอยล์เย็นเกิดความเสียหาย ถ้าฟินเสียหาย พับหรืองอ จะทำให้เป็นสาเหตุของแอร์ไม่เย็น การล้างทำคามสะอาดระบบปรับอากาศไม่ได้ใช้เพียงแค่แรงดันน้ำในการทำความสะอาด เพราะยังมีเรื่องคราบสกปรกและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์อีกด้วย เราจึงควรใช้ควบคู่กับน้ำยาทำความสะอาด

เครื่องฉีดน้ำ หรือ ปั๊มน้ำแรงดันต่ำ

16. เครื่องตรวจรั่วน้ำยาแอร์ (Leak detector)

เป็นเครื่องสำหรับเช็กจุดที่มีน้ำยาแอร์รั่ว สามารถเช็กได้กับแอร์บ้าน แอร์รถยนต์ ใช้สำหรับตรวจการรั่วไหลของน้ำยาแอร์หลายชนิด CFCs: R11, R12, R500, R503ฯลฯ HCFCs: R22, R32, R404A, R410A, R448A และตรวจจับก๊าซสารทำความเย็นฮาโลเจนทุกชนิด เป็นอุปกรณ์ที่ช่างขาดไม่ได้เลยอีกหนึ่งชิ้น 

เครื่องตรวจรั่วน้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น (Leak detector)

17. น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น

ถือเป็นสิ่งที่ช่างระบบปรับอากาศและทำความเย็นมีติดรถไว้เสมอ การใช้งานขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องปรับอากาศ เพื่อใช้เติมเข้าสู่เครื่องปรับอากาศ เช่น R-22 , R410a โดยมาตรฐานการเติมน้ำยาแอร์ ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำยา สำหรับงานเครื่องปรับอากาศ ช่างควรจะต้องมีการชั่งน้ำหนักเติมตามฉลากของเครื่อง และวัดความดันน้ำยา ค่ากระแสไฟฟ้า รวมถึงคำนวณค่า superheat, subcooling เพื่อความถูกต้องสูงสุด

น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น

18. แคลมป์วัดไฟฟ้า (Clamp Meter)

เป็นเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า (Current Measurement) ที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ โดยไม่ต้องดับไฟหรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยแคลมป์มิเตอร์ จะมีส่วนคล้ายกับก้ามปูเพื่อใช้คล้องกับสายไฟและสามารถอ่านค่าได้ทันที ซึ่งมีด้วยกันหลายยี่ห้อ ที่รวบรวมฟังก์ชันการวัดกระแสไฟเข้าไว้ในตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็น Current วัดกระแส AC/DC , Voltage วัดแรงดัน, Continuity Check เช็กความต่อเนื่อง, Resistance วัดค่าความต้านทาน

แคลมป์วัดไฟฟ้า (Clamp Meter)

19. ปากกาวัดไฟ (Voltage Detector)

เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับช่างแอร์ และช่างไฟฟ้าทุกคน ใช้วัดไฟในจุดต่างๆ ตรวจเช็กหาแรงดันไฟฟ้า (Voltage Detector) โดยไม่ต้องสัมผัสที่สายไฟหรือโลหะโดยตรง เหมือนไขควงวัดไฟทั่วไป เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

ปากกาวัดไฟ (Voltage Detector)

20. ชุดเชื่อมท่อ (hand torch)

ไม่ว่าจะเป็นชุดเชื่อมสนาม หรือ หัวเชื่อมแก๊สกระป๋อง ใช้สำหรับเชื่อมท่อทองแดงในงานปรับอากาศ ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูงในการเชื่อม หากความร้อนไม่ถึงจุดที่หลอมเหลวก็จะทำให้งานเชื่อมไม่มีประสิทธิภาพ สำหรับหน้างานที่พื้นที่จำกัด การเลือกใช้หัวเชื่อมแก๊สกระป๋องนั้นควรเลือกใช้กระป๋องที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีความทนทานป้องกันการเกิดแก๊สรั่วได้

อุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างบนนั้น เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับช่างแอร์ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังศึกษาจะเป็นช่างแอร์ ช่างแอร์มือใหม่ หรือจะเป็นช่างแอร์มือเก๋า เครื่องมือในการทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัยในการทำงาน และหมั่นเสริมทักษะให้มีความชำนาญอย่างสม่ำเสมอครับ

หากสนใจ เครื่องมือช่างแอร์เบื้องต้น หรือต้องการทราบข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ โทรหาเราได้ที่  02-446-5656 หรือ 061-747-1331

ข่าวสารและบทความแนะนำ