คอนเดนเซอร์ หรือ คอยล์ร้อน แบบ Air Cooled และ Water Cooled ต่างกันอย่างไร ?

คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) คืออะไร ?

คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) หรืออาจจะเรียกว่า เครื่องควบแน่น คือ เป็นอุปกรณ์ภายในระบบทำความเย็น มีหน้าที่ เปลี่ยนสถานะน้ำยาในสภาวะไอที่มีอุณหภูมิและความดันสูงให้กลั่นตัวเป็นของเหลว โดยอาจจะมี อากาศ น้ำ หรือทั้งอากาศและน้ำเป็นตัวช่วยในการระบายความร้อนออกจากคอนเดนเซอร์ได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ยังคงมีความดันอยู่เท่าเดิม

คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) แบ่งได้ 3 ประเภท

  1. การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser)
  2. การระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Condenser)
  3. การระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ (Evaporative Condenser)

1. การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser)

คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser) โดยจะให้อากาศผ่านเพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ ลักษณะเป็นท่อทองแดงรูปตัวยู สอดอยู่ในแผ่นครีบอลูมิเนียม เพื่อเพิ่มพื้นผิวในการถ่ายเทความร้อน แต่ปัจจุบันรูปแบบคอยล์ร้อนที่มีท่อทองแดงได้มีการพัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบ คอยล์อลูมิเนียม ที่มีประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดีขึ้น คอนเดนเซอร์แบบการระบายความร้อนด้วยอากาศ นิยมนำไปใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก หรือตู้เย็น ตู้แช่

Air Cooled Condenser

2. การระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Condenser)

คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Condenser) โดยจะให้ น้ำเป็นตัวกลางในการลดความร้อนจากคอนเดนเซอร์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้แบบระบายความร้อนด้วยน้ำในระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ หรือเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่

Water Cooled Condenser

3. การระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ (Evaporative Condenser)

คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) แบบระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ (Evaporative Condenser) คอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะใช้น้ำและอากาศในการระบายความร้อนร่วมกัน โดยอากาศจะดูดเข้าที่ส่วนล่างของเครื่อง ผ่านสัมผัสกับคอยล์คอนเดนเซอร์ อากาศจะไหลผ่านทะลุออกทางด้านบนของเครื่อง จะรับความร้อนจากคอยล์คอนเดนเซอร์ และระหว่างนั้นปั๊มน้ำจะดูดเอาดูดเอาน้ำจากถังพักส่วนล่างผ่านขึ้นไปสเปรย์ โดยจะฉีดน้ำให้เป็นฝอย เพื่อรับความร้อนจากคอยล์ น้ำที่ตกผ่านคอยล์ลงมาจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น เพื่อให้สารทำความเย็นเป็นสถานะจากไอเป็นของเหลว แต่กระบวนการทำงานนี้น้ำอาจจะสูญเสียไป จึงจำเป็นต้องมีระบบจ่ายน้ำจากภายนอก และมีการควบคุมการกักเก็บน้ำโดยลูกลอย เพื่อไม่ให้น้ำล้นออกจากถังกักเก็บ

Evaporative Condenser

สรุป

การเลือกรูปแบบการของคอนเดนเซอร์(คอยล์ร้อน) นั้นมีความจำเป็นในระบบทำความเย็น เพราะมีหน้าที่ช่วยทำให้สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์เปลี่ยนสถานะจากไอเป็นของเหลว และช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากสารทำความเย็น โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ระบายความร้อนด้วยอากาศ น้ำ และทั้งน้ำและอากาศร่วมกัน ดังนั้น เราจึงควรจะเลือกใช้งานคอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) ในรูปแบบที่เหมาะสมกับงานเพื่อประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่ดีทีสุด

ถ้าหากคุณสนใจหรือต้องการคำแนะนำโซลูชั่นระบบทำความเย็นเพิ่มเติม สามารถสอบถามเรา ที่นี่ หรือ โทรหาเราที่ 02-446-5656 ต่อ 3138

ที่มารูปภาพ : alfacool.com

ข่าวสารและบทความแนะนำ