ฮีทปั๊ม (Heat Pump)ผลิตน้ำร้อนอุณหภูมิสูง

ฮีทปั๊ม (Heat pump) คืออะไร/มีหลักการทำงานอย่างไร?

ฮีทปั๊ม

 

ฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน คืออะไร?

พลังงานความร้อน ถูกนำมาใช้มากมายทั้งในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรมการผลิต ใช้ในอาคารสำนักงาน หรือในโรงงานต่างๆ เพื่อทำความร้อนภายในอาคาร การทำความร้อนจะใช้พลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันด้วยความต้องการที่จะประหยัดพลังงานให้มากขึ้น และควบคุมการปล่อย CO2 เพื่อป้องกันสภาวะโลกร้อน ฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน จึงเป็นทางเลือกในการให้พลังงานความร้อนอีก   รูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถนำเอาพลังงานความร้อนของระบบทำความเย็นหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้

ฮีทปั๊ม (Heat Pump) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ปั๊มความร้อน คือ เครื่องจักรสำหรับผลิตน้ำร้อนหรือเครื่องทำความร้อน นิยมใช้ในโรงแรม โรงพยาบาลและโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำร้อน โดยอาศัยหลักการถ่ายเทความร้อนจากแหล่งที่มีความร้อนสูงกว่าเพื่อมาผลิตน้ำหรืออากาศร้อน ฮีทปั๊ม (Heat Pump) เป็นเครื่องทำความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เมื่อเทียบกับเครื่องทำความร้อนแบบอื่นเนื่องจากอาศัยหลักการถ่ายเท ทำให้ใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องทำความร้อนที่ใช้ฮีทเตอร์

อาจกล่าวสรุปได้ว่า ฮีทปั๊ม (Heat Pump) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายเทความร้อนจากแหล่งที่มีความร้อนสูงกว่าเพื่อมาผลิตน้ำหรืออากาศร้อนโดยใช้อุปกรณ์เช่นเดียวกับเครื่องปรับอากาศแต่สามารถใช้ความร้อนที่ออกจากเครื่องเพื่อไปทำน้ำร้อนหรือลมร้อนส่วนความเย็นที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นผลพลอยได้

ในวงจรสารทำความเย็นจะมีอุปกรณ์สำคัญ 4 ส่วน คือ             

1. คอมเพรสเซอร์  (Compressor) ทำหน้าที่ เพิ่มแรงดันสารทำความเย็น

2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ ระบายความร้อนด้วยอากาศ,ระบายความร้อนด้วยน้ำ

3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ ระบายความเย็นสารทำความเย็น

4.วาล์วลดแรงดัน (Expansion Valve) ทำหน้าที่ ลดแรงดันสารทำความเย็น

เทคโนโลยีของ ฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน ใช้หลักการผลิตความร้อนแบบ Carnot Heat Engine ซึ่งคิดค้นโดย นิโคลัส ลีโอนาร์ด ซาดี การ์โนต์ (Nicolas Léonard Sadi Carnot) ซึ่ง Heat Pump Technology เป็นระบบทำความร้อนเดียวในโลกที่มีประสิทธิภาพในผลิตความร้อนได้สูงถึง 400% ในขณะที่ระบบการผลิตความร้อนแบบเก่า เช่น หม้อต้มไฟฟ้า แก๊สหรือน้ำมัน จะมีประสิทธิภาพเฉลี่ยเพียง 80% เท่านั้น


การประเมินประสิทธิภาพของฮีทปั๊ม
(Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน

System Efficiency of Heat Pump

แหล่งพลังงานของฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน ที่ใช้ในการผลิตความร้อน คือ พลังงานความร้อนจากในธรรมชาติและนําไปผลิตเป็นน้ำร้อนหรือลมร้อน

ฮีทปั๊ม

 

ฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน มีหลักการทำงานอย่างไร

หลักการทำงานของระบบฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน จะเหมือนกับระบบทําความเย็น แต่จะต่างตรงที่ระบบทำความเย็น Evaporator จะดูดรับปริมาณความร้อนเข้ามาที่สารทำความเย็น เพื่อได้ความเย็นไปใช้งาน แต่ระบบฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน จะถ่ายเทพลังงานความร้อนของสารทำความเย็นที่ผ่าน Compressor ส่งไปยังน้ำหรืออากาศเพื่อให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อสูญเสียความร้อนสารทำความเย็นจะกลั่นตัวเป็นของเหลวไหลไปยังวาล์วลดแรงดันจากนั้นจะไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศอีกครั้งและกลายเป็นไอเป็นวัฏจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆจนได้น้ำร้อนที่ต้องการสามารถนำน้ำไปใช้งานในส่วนต่างๆตามความเหมาะสมได้

ฮีทปั๊ม

 

ข้อดีของฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน

1. ช่วยลดต้นทุนในด้านการผลิตน้ำร้อน

2. เป็นทางเลือกในการผลิตน้ำร้อนประหยัดพลังงานแทนฮีทเตอร์ไฟฟ้า (Electric Heater) ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ดี เนื่องจากใช้ไฟน้อยกว่าวิธีทำน้ำร้อนด้วยฮีทเตอร์ไฟฟ้า ฮีทปั๊ม (Heat Pump) ใช้พลังงานน้อยกว่า 3-4 เท่า

3. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมฮีทปั๊ม (Heat Pump) รุ่นมาตรฐาน ใช้สารทำความเย็น R134A ซึ่งเป็นสารทำความเย็นในอนาคตไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

4. มีความปลอดภัยจากไฟฟ้ารั่วและช็อตในขณะใช้น้ำร้อนเนื่องจากผู้ใช้น้ำร้อนไม่ได้สัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรง

5. ค่าใช้จ่ายในการทำน้ำร้อนน้อยกว่าวิธีการทำน้ำร้อนแบบไฟฟ้า

 

ทำไมถึงต้องเลือก Maxcool Heat Pump ?

ฮีทปั๊ม

  • ไม่ทำลายชั้นโอโซนบรรยากาศ (ค่า GWP (Global Warming Potential) ต่ำ ,ODP เท่ากับ 0)
  • มีระบบในการควบคุมการทำงานอัตโนมัติด้วยชุดควบคุมอุณหภูมิ
  • ประหยัดไฟฟ้ากว่าฮีทเตอร์ 2-3 เท่า
  • สามารถลดการใช้พลังงานได้ 50% เมื่อเทียบกับระบบที่ใช้เชื้อเพลิงหรือไอน้ำ
  • สามารถควบคุมอัตราการจ่ายน้ำร้อนได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมรักษาคุณภาพของสินค้าได้ (การอบแห้งที่อุณหภูมิไม่สูงเกิน 85°C โดยความชื้นที่ปล่อยออกมาจากฮีทปั๊ม (Heat Pump)จะมีลักษณะความชื้นต่ำ)
  • สามารถควบคุมกระบวนการส่งน้ำร้อนออกจากเครื่องได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ทำอุณหภูมิสูงสุดได้ถึง 80-85 °C
  • เหมาะสำหรับอบแห้งพืช สมุนไพร อบไม้ วัสดุก่อสร้าง อบพืชผลทางเกษตร อาหารทะเล ใบยาสูบ อุปกรณ์ผลิตพลาสติก ยางพารา เป็นต้น
  • ได้ความเย็นจากการเป่าทิ้งอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส
  • สามารถนำความเย็นที่ได้ไปใช้ในการ Pre-cool อากาศก่อนเข้าเครื่องทำความเย็นได้

 

ฮีทปั๊ม

ข้อมูลเพิ่มเติม : ฮีทปั๊มผลิตน้ำร้อนอุณหภูมิสูง

อุปกรณ์ภายในของฮีทปั๊มหรือปั๊มความร้อนผลิตน้ำร้อนอุณหภูมิสูง (Product Detail of Heat Pump for Drier)

ฮีทปั๊ม

 

การติดตั้งฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน

ฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน ผลิตน้ำร้อนสำหรับอบแห้ง (Heat Pump Drier) ควรติดตั้งอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อประสิทธิภาพในการทำน้ำร้อน ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางทางเข้าออกของอากาศ ลมเย็นที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องควรปล่อยออกสู่บรรยากาศหรือต่อท่อลมเพื่อนำไปใช้ในการ Pre cool ของอากาศก่อนเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ

 

ฮีทปั๊ม

 

 

 

ข่าวสารและบทความแนะนำ